top of page

สรุปข้อมูลโครงการเขื่อนฮัตจี Hat Gyi dam project on the Salween River


อ้างอิงจากรายงานของ Salween Watch 2016






  • โครงการเขื่อนฮัตจี ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทย ~ 47 กิโลเมตร ตามลำน้ำสาละวิน จากบ้านสบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

  • กำลังผลิตติดตั้ง 1,360 MW

  • ผู้ลงทุน กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล กระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า Sinohydro (จีน)

  • สถานะโครงการ ณ ปี 2559 จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เพิ่มเติม ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี

  • มูลค่าก่อสร้างโครงการประมาณ 1 แสนล้านบาท


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ว่าจ้างให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม โครงการไฟฟ้าพลังน้ำฮัจยี ชายแดนไทย-พม่า โดยได้จัดประชุมเพื่อนำเสนอ รายงานที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 อย่างไรก็ตามเนื้อหาของรายงานโดยละเอียดยังไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะและ ชุมชนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดน และผลกระทบต่อระบบนิเวศ การไหลของน้ำ การอพยพของปลา


เนื่องจากเขื่อนนี้ตั้งอยู่ในรัฐ กะเหรี่ยง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังมีการสู้รบ รายงานการศึกษาของกฟผ. ระบุว่ามีชุนในรัฐกะเหรี่ยงจะได้รับผลกระทบ 13 หมู่บ้าน และต้องอพยพ 21 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามกลุ่มสิ่งแวดล้อมกะเหรี่ยง Karen Rivers Watch ระบุว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ หัวงานเขื่อนส่วนใหญ่ได้อพยพหนีภัยความตายมายังชายแดนประเทศไทย เนื่องจากภัยสงคราม และอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวใน จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก


สถานการณ์ พื้นที่เขื่อนฮัตจีเมื่อในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2558 มีรายงานจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมกะเหรี่ยงว่าได้รับข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU กองพล 5 เขตมือตรอ รัฐกะเหรี่ยง รายงานว่าตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน กองกำลังฝ่ายรัฐบาลพม่า 4 กองพัน ซึ่งประกอบด้วย กองกำลังป้องกันชายแดน (BGF) กองพัน 1013 และ 1014 สนธิกำลังกับกองพันเคลื่อนที่เร็วของกองทัพพม่า (LIB) กองพัน 210 กับ 205 ปฏิบัตการเข้าโจมตีพื้นที่ ตำบลแม่ปริ และตำบลทีตะดอท่า ในพื้นที่ อ.บือโส่ เขตมือตรอ กองกำลังร่วมชุดนี้ได้เข้าควบคุมพื้นที่จึงทำให้เกิดการปะทะกับกอง กำลัง KNU ส่งผลให้ KNU ต้องสูญเสียพื้นที่ควบคุมบางส่วน ปฏิบัติการของกองกำลังฝ่ายรัฐบาลพม่าส่งผลให้ผู้นำชุมชนหลาย คนถูกไล่ออกจากหมู่บ้าน มีการจับกุมชาวบ้านในพื้นที่ไว้ และมีชาวบ้านถูกฆ่าอย่างน้อย 1 คน (เป็นกำนันตำบล ทีตะดอท่า) รวมถึงมีการปิดด่านริมน้ำสาละวินทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถ เดินทางไปมายังเขตเมืองได้ (ด่านตรวจริมแม่น้ำสาละวินที่เป็นจุดสำคัญสกัดการเดินทางไปยังเมือง เมียนจีหงู่ หรือ พะอัน คือ ด่านแมเซก ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด่านแห่งนี้ถูกควบคุมโดยกองกำลัง BGF กองพัน 1012)


ระยะเวลาเพียง 2 สองเดือนดังกล่าวในพื้นที่เกิดการปะทะไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เจ้าหน้าที่ KNU เขตมือตรอ ให้ข้อมูลว่า ในระหว่างการดำเนินกระบวนการสันติภาพในพม่า แต่ในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงภายใต้ KNU กลับมีการเคลื่อนไหวของกองทัพฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นจึงยากที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อกันและกันในการเดินไปสู่ สันติภาพที่แท้จริง


แหล่งข่าวที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ และเคยลงพื้นที่สำรวจพื้นที่หัวงานเขื่อนฮัตจีเปิดเผยว่า ปฎิบัติการโจมตีดังกล่าวเป็นปฎิบัติการที่ต่อเนื่องจากการโจมตีช่วงปลาย เดือนตุลาคม 2557 ซึ่งครั้งนั้นมีชาวบ้านหนีภัยการสู้รบข้ามแม่น้ำเมยมายังบ้านแม่ตะวอ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก กว่า 300 คน


“เดิมที พื้นที่แมเซก ซึ่งเป็นด่านสกัดการเดินทางจากหัวงานเขื่อนลงมายังเมืองเมียนจีหงู่ นั้น อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA แต่หลังการโจมตีของกองทัพฝ่ายรัฐบาลพม่าในเดือนตุลาคม กองกำลัง BGF กองพัน 1012 ได้เข้ามาควบคุมพื้น จากการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงทหารระดับปฎิบัติการในพื้นที่ของ DKBA บางคนประเมินว่าคงมีการโจมตีอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะพื้นที่เป้าหมายที่ฝ่ายกองทัพพม่าต้องการเข้าควบคุมคือ พื้นที่ บอตอรอ เพราะทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าหากกองทัพพม่าเข้าควบคุมพื้นที่แห่งนี้ ได้ คือการคุมพื้นที่ทั้งเหนือและใต้ของหัวงานเขื่อนได้ และปฏิบัตการที่มีความต่อเนื่องนี้ มีความเชื่อมโยงกับความพยายามของกองทัพพม่าที่ต้องการควบคุมพื้นที่สร้าง เขื่อนฮัตจีอย่างแน่นอน


หมู่บ้าน ที่อยู่โดยรอบหัวงานเขื่อนฮัตจี พื้นที่เขตตองจา ซึ่งอยู่ในพื้นที่การสู้รบและได้รับผลกระทบโดยตรง มีดังนี้ สาละวินฝั่งตะวันออก จากเหนือลงใต้ บ.บอตรอ, บ.ฮ่วยอู แว และบ.แมเซก


ส่วนทางสาละวินฝั่งตะวันตก ได้แก่ บ.แม่ลา บ.แม่ลาท่า และบ.แมเซก



bottom of page